Aromatherapy

น้ำมันหอมระเหย

การใช้กลิ่นหอมได้เริ่มใช้มานานแล้ว โดยใช้ในรูปแบบของธูปหอม น้ำหอม และเครื่องสำอางค์ เช่น การเผายางไม้จูนิเฟอร์Juniper ในธิเบต และยางไม้แฟรงคินแซนส์Frankincense ในโบสถ์ของโรมันคาทอลิก นอกนั้นยังพบบันทึกเกี่ยวกับการใช้ พืชเพื่อการเยี่ยวยารักษาสุขภาพตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 2000  ปีเช่น

ในคัมภีร์อายุรเวท Ayurvedic system ของอินเดียบันทึกเกี่ยวกับการใช้พืชเพื่อการเยี่ยวยารักษาสุขภาพ เช่น การบูร Camphorและมีการใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ในจีน สมัยของYellow Emperor จนถึงรัชสมัยของ Li-Ki and Tcheou-Li ได้บันทึกการใช้ ฝิ่น Opium และขิงGinger ในการรักษาไว้ในหนังสือ International Medicine

ในคัมภีร์ั Papyrus ของอียิปต์ มีการใช้น้ำมันหอม,น้ำหอม , ธูปหอมในโบสถ์ และใช้น้ำมัน, กัมส์Gum จากสนซีดาร์ และเมอร์Myrrh

ในขบวนการทำมัมมี่

Aromatherapyคำนี้ถูกใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1928 โดย Rene  Maurice Gattefosse นักเคมีชาวฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในตระกูล ที่ทำน้ำหอมมานาน เขาประสบอุบัติเหตุในห้องทดลอง ถูกไฟไหม้ที่แขน จึงใช้น้ำมันลาแวนเดอร์ รักษาแผลไฟไหม้โดยบังเอิญ ปรากฎว่าแผลที่เกิดจากไฟไหม้ดังกล่าว ไม่ติดเชื้อ จากนั้นได้ทำการศึกษาค้นคว้าจนทราบว่า Eesential oil ที่ได้จากธรรมชาติ ใช้ได้ผลดีกว่าสารสังเคราะห์และได้ทำการศึกษาขยายผลไปยังน้ำมันหอมระเหยตัวอื่นๆ Aromathrapy ถูกมองว่าเป็นการใช้กลิ่นในการรักษาผ่านทางอารมณ์ เพียงอย่างเดียว แต่ความเป็นจริง ในน้ำมันหอมระเหย แต่ละชนิด มีผลต่ออวัยวะต่างๆ หรือระบบต่างๆ ทั้งหมดในร่างกายโดย Mode of Essential oil มี 3 ทางคือ

ทางเภสัชวิทยา (Pharmacological)

ทางกายภาพ (Physiological)

ทางจิตวิทยา (Psycological)

ยกตัวอย่างเช่น การใช้ น้ำมันหอมระเหยทา หรือ นวดบนร่างกาย หรือสูดดมทางจมูก น้ำมันหอมระเหยจะซึมผ่านผิวหนังหรือเยื่อโพรงจมูก เข้าสู่กระแสเลือดและเกิดปฏิกิริยากับฮอร์โมนHormone, เอ็นไซม์Enzyme และอื่นๆ ในร่างกาย ทำให้มีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ



การสกัดน้ำมันหอมระเหย มีดังนี้

การบีบ คั้น  Cold press

เป็นการสกัดเย็น โดยใช้แรงบีบ วิธีใช้ได้กับพืชกลุ่มที่มีน้ำมันหอมระเหยมาก จะได้น้ำมันหอมระเหยที่เป็นธรรมชาติเพราะไม่ผ่านความร้อน เรียกว่า น้ำมันดิบ 

การกลั่น Distillation

เป็นวิธีที่นิยม ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นวิธีที่ประหยัดและสูญเสียน้ำมันเพียงเล็กน้อย แบ่งได้เป็น 3 วิธีดังนี้

Steam Distillation กลั่นโดยใช้ไอน้ำ 

Water or Hydro-Distillation กลั่นโดยการใช้พืชแช่น้ำ พืชที่ใช้ต้องเป็นพืชที่ทนต่อความร้อนสูง เช่น พืชแข็งหรือแห้ง หรือเป็นเนื้อไม้

Vacuum Steam Distillation กลั่นด้วยไอน้ำภายใต้ระบบสูญญากาศ  มีการดูดเอาอากาศจากภายในระบบออก เพื่อเป็นการลดจุดเดือด ของน้ำและน้ำมันหอมระเหยให้ต่ำลง ทำให้น้ำมันหอมระเหยไม่ถูกทำลายคุณสมบัติด้วยความร้อนสูง จะได้คุณภาพน้ำมันที่ดีกว่าสองแบบแรก


การสกัดด้วยตัวทำละลาย Solvent Extraction

1.มีการใช้ตัวทำละลายที่ระเหยได้

-Hydrocarbon Sovent

-Absolute alcohol

ข้อดีของการสกัดแบบนี้คือไม่ทำให้องค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยเสียไปเหมาะสำหรับพืชที่มีน้ำมันหอมเหยน้อย ข้อเสียคือ ตัวทำละลายบางดตัวมีราคาแพงและต้องแน่ใจว่าได้ระเหยตัวทำละลายหมด ก่อนนำไปใช้

2.การใช้สารละลายที่ระเหยไม่ได้ เช่น น้ำมัน หรือไขมันจากพืชหรือสัตว์ Fixed oil, Lard เหมาะสำหรับดอกไม้ที่มีน้ำมันหอมระเหยน้อย เช่น ดอกมะลิ  

-Maceration เป็นการสกัดโดยการแช่พืชหรือดอกไม้ ไว้ในน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากสัตว์ ทั้งอุณหภูมิห้องหรือความอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส  เรียกสารสกัดที่ได้ว่า Oil Extract

-Enflurage เป็นวิธีสกัดโดยใช้ ไขมันแข็ง จากพืชหรือสัตว์ Lard or Magarine มาทาบางๆ ไว้บนภาชนะแก้วที่มีฝาปิดแล้วนำพืชหรือดอกไม้ มาวางไว้บนไขมันแข็ง  ปิดฝาทิ้งไว้ให้ดอกไม้รำเพยกลิ่นออกมา โดยเปลี่ยนดอกไม้ทุกวันจนกว่าไขมันแข็งจะมีกลิ่นหอม จากนั้นแยกเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากไขมันโดยการสกัดด้วย Absolute alcohol จะได้ Absolute Oil 

-Innert Gas สารละลายที่เป็นก๊าซCarbondioxide (Co2) โดยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกทำให้เป็นของเหลวที่ความดันสูง ผ่านพืชหรือดอกไม้ ก๊าซจะพาเอาน้ำมันหอมระเหยออกมาจากพืช แล้วจึงนำสารสกัดที่ได้มา ระเหยเอาก๊าซออกมาที่อุณหภูมิห้องวิธีนี้จะได้น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นดี เหมือนธรรมชาติมากที่สุด แต่ต้นทุนจะสูงมาก เหมาะสำหรับการสกัดน้ำมันหอมระเหยเพื่อทำน้ำหอมราคาแพง