Forest Bathing

forst bathing

ศาสตร์แห่งการอาบป่า (Art of Forest Bathing)  ได้รับแรงสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อศึกษาค้นคว้าความเชื่อมโยงของธรรมชาติกับการบำบัดรักษาร่างกายและจิตใจ โดยในปี 2004 - 2012 ญี่ปุ่นได้ใช้เงินประมาณ 4 ล้านดอลลาร์ไปกับ 48 งานวิจัยเพื่อศึกษาผลทางจิตวิทยาของการอาบป่า และตรวจคุณสมบัติของป่าหลายๆ แห่งเพื่อรับรองและแนะนำให้พื้นที่เหล่านั้นเป็นแหล่งอาบป่าที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการได้

หนึ่งในการศึกษาเมื่อปี 2009 เกี่ยวกับการวัด NK CELL หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพบว่า NK CELL มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากทำกิจกรรมอาบป่าในทุกสุดสัปดาห์ หรือแปลได้ว่าการอาบป่าช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกและป้องกันมะเร็งได้นั่นเอง

ในขณะที่งานศึกษาของมหาวิทยาลัยชิบะพบว่า การอยู่ท่ามกลางต้นไม้เพียง 30 นาที มีผลเชิงบวกต่อร่ายกายอย่างมาก ระบบประสาททำงานดีขึ้น ฮอร์โมนความเครียดลดลง อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง และความดันโลหิตลดต่ำลง เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ในเมือง

ผลการวิจัย ระบุว่า “การอาบป่า” ส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์ ทำให้คุณภาพในการนอนหลับและการมีสมาธิดีขึ้น รวมทั้งสามารถลดฮอร์โมนความเครียด ลดซึมเศร้า และปรับสมดุลความดันโลหิตได้

นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากพืช เป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งซึ่งทำให้เรารู้สึกดีขึ้นเมื่อเดินเข้าไปในป่า โมเลกุลน้ำมันหอมระเหยพืชลอยเข้าสู่ร่างกายเราผ่านจมูก

สิ่งแรกที่รับรู้คือต่อมสัมผัสรับกลิ่น ส่งปฏิกิริยาต่อไปยังสมองส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ Limbic สมองส่วนลึกซึ่งทำหน้าที่ด้านอารมณ์และความจำ ซึ่งจะเชื่อมโยงโดยตรงกับระบบหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ความเครียด และความสมดุลของฮอร์โมน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลิ่นเหล่านี้ มีพลังในการกระตุ้นความรู้สึกในระดับลึก สามารถแตะถึงความทรงจำเก่าแก่ในจิตไร้สำนึก

นอกจากนี้ โมเลกุลจากสารระเหยน้ำมันพืชยังเคลื่อนเข้าสู่ปอด ทำปฏิกิริยากับระบบหายใจ และมีงานวิจัยยืนยันว่า น้ำมันหอมระเหยพืชส่วนใหญ่มีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นแอนตี้แบคทีเรียบ้าง แอนตี้ไวรัสบ้าง แอนตี้เชื้อราบ้าง

จึงมีส่วนในการเกื้อหนุนระบบภูมิต้านทาน ช่วยบำบัดรักษาร่างกาย และยังพบว่าน้ำมันหอมระเหยพืชในป่าช่วยารสังเคราะห์แสงของพืชนั้นทำให้เกิดโมเลกุลออกซิเจนที่มีประจุไฟฟ้าลบอ่อนๆ เมื่อเราสูดดมเข้าไปก็จะไปประกบกับประจุไฟฟ้าขั้วบวกของอนุมูลอิสระในร่างกายจนเปลี่ยนเป็นกลาง แล้วร่างกายก็หลั่งสาร Serotonin หรือ “ฮอร์โมนแห่งความสงบสุขออกมา”

 ทำให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า ลดอาการซึมเศร้า ลดความเครียด และที่สำคัญระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ในร่างกายก็จะดีขึ้นด้วย สิ่งวิเศษเหล่านี้ ธรรมชาติพร้อมจะมอบให้เสมอ เพียงแค่เราก้าวเท้าเข้าไป “อาบป่า”

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ตัวยาสำคัญ” ที่ป่ามอบให้เราก็คือ Phytoncide ซึ่งมาจากภาษากรีก คำว่า Phyto แปลว่า “ต้นไม้” และ Cide หมายถึง “การกำจัด”

Phytoncide คือ “น้ำมันหอมระเหย” ที่บรรดาต้นไม้ปล่อยออกมาเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อโรค เชื้อรา และเหล่าแมลงร้าย

ทว่า ธรรมชาติไม่ได้เห็นแก่ตัวขนาดนั้น ต้นไม้ก็ป้องกันเราเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อเราสูดอากาศสดๆ จากในป่า เราก็จะได้รับสารตัวนี้เข้าไปด้วย

เพียง 2 ชั่วโมงในป่า การได้รับ Phytoncide จะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Phytoncide จะช่วยเพิ่มเซลล์เพชฌฆาต (NK cell หรือ Natural Killer Cell) ที่เป็นตัวทำลายเซลล์มะเร็งตัวสำคัญ นอกจากนี้ “การอาบป่า” ยังช่วยแก้ซึมเศร้า และเยียวยาสุขภาพจิต จากแบคทีเรียซึ่งอยู่ในดินที่เรียกว่า Microbiome ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ลดความดันเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความเครียด แม้แต่ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น  ส่งเสริมเกื้อกูลจุลินทรีย์ สร้างสภาวะที่เป็นมิตรแก่การดำรงอยู่ตามระบบธรรมชาติ

“อาจารย์คณิต” สรุปผลดีในทางบวกของ “การอาบป่า” ว่ามี 8 ประการคือ

1. ช่วยลดความดันโลหิต เพราะการเดินทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น ได้ยืดหยุ่นและเคลื่อนไหวร่างกายด้วย

2. ช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจดีขึ้น ทำให้หัวใจคุณเต้นช้าลงเมื่อเรารู้สึกผ่อนคลายนั่นเอง

3. ช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียด หรือ Cortisol ได้ เมื่อปราศจากสิ่งรบกวนความเครียดย่อมน้อยลงตามไปด้วย

4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ เช่น การช่วยต้านหวัด ภูมิแพ้ มะเร็ง อาการปวดต่างๆ (แต่คุณจะต้องใช้เวลาศึกษาและเดินป่าอย่างเป็นแบบแผน)

5. ช่วยลดการอักเสบในส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ไซนัส ช่วยเรื่องไขข้อ เพราะการเดินป่าก็เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง

6. ช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ลดความกังวล โกรธง่าย ลดความก้าวร้าว ความรุนแรงของจิตใจ

7. ช่วยให้รู้สึกสดชื่น มีพลังคืนมา เพราะในป่ามีค่าออกซิเจนสูงมาก และไม่มีมลพิษ

8. ช่วยยกระดับความต้องการมีชีวิตชีวา ต้องการอยู่รอด เพราะเราได้รับการปลอบประโลมจากป่า ทำให้รู้ว่าชีวิตมีค่า เมื่อคุณเห็นค่าของป่า คุณต้องต่อสู้ต่อไป


There is no singular way to practice forest bathing, nor is there an exact amount of time prescribed. Some practitioners suggest that a single session last from two to four hours, but some research has demonstrated that even 15 minutes can have beneficial short-term effects on mental health . There are a range of activities within forest bathing including walking, standing, sitting, and deep breathing all while being mindful of one’s senses. Dr. Yoshifumi Miyazaki of Chiba University, among the world’s foremost experts on shinrin-yoku  , suggests turning off your phone and engaging in shikan shoyou, which translates to “nothing but wandering along.” “Pay attention to any areas of stiffness or pain the body and consciously relax them,” Miyazaki writes. “Become aware of your present mental and emotional states…Pay attention to the experience of walking and keep your awareness engaged in this experience. Be aware of the beginning, the middle and the end of your stepping. Walk as silently as possible.”Please visit often—inner peace is here, in the green.

https://www.japanesegarden.org